Last updated: 29 ธ.ค. 2563 | 16603 จำนวนผู้เข้าชม |
นิติกรรมอำพราง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕ วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ
องค์ประกอบของนิติกรรมอำพราง
ต้องเป็นการทำนิติกรรมขึ้นมา ๒ นิติกรรม(นิติกรรมที่ทำขึ้นเพื่ออำพราง กับ นิติกรรมที่ถูกอำพราง)
นิติกรรมอันหนึ่งเปิดเผยแสดงออกมาแต่ไม่ต้องการผูกนิติสัมพันธ์
นิติกรรมอีกอันหนึ่งไม่เปิดเผยแต่เป็นนิติกรรมที่ต้องการให้มีผลบังคับระหว่างคู่กรณี
นิติกรรมที่ถูกอำพราง
ถ้ากฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบหรือทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ต้องทำตามกฎหมายกำหนดหรือแบบ เช่น กำหนดให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำเป็นหนังสือหรือสัญญากู้ยืมเงินกว่าสองพันบาท มิเช่นนั้น เป็นโมฆะ หรือฟ้องร้องกันไม่ได้
ถ้านิติกรรมที่แสดงเจตนาลวงได้ทำตามแบบให้ถือว่าแบบหรือหลักฐานที่เป็นหนังสือนั้นได้โอนมาเป็นแบบหรือหลักฐานเป็นหนังสือนิติกรรมที่ถูกอำพราง แต่ นิติกรรมที่อำพรางและนิติกรรมที่ถูกอำพรางต้องมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างเดียวกัน เป็นผลให้นิติกรรมที่ถูกอำพรางถูกต้องตามกฎหมาย
อุทาหรณ์
นาง กู้เงิน นาย โดยมอบรถยนต์ให้นาย ใช้ประโยชน์ตอบแทนการกู้ยืมเงิน แต่ นาง กลัวว่านาย เจ้าหนี้ของตนจะมายึดรถยนต์ไป นาง กับ นาย จึงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ให้กันเพื่ออำพราง
ดังนั้นสัญญาซื้อขายรถยนต์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน จะบังคับตามสัญญาซื้อขายรถยนต์(นิติกรรมที่ทำขึ้นเพื่ออำพราง)ไม่ได้ ต้อง บังคับตามสัญญากู้ยืมเงิน(นิติกรรมที่ถูกอำพราง)
ฎ.๒๕๗๔/๒๕๕๖
ก.กับ น.ทำสัญญาซื้อขายอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะ ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ แม้จะมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ก็ถือว่าสัญญาซื้อขายเป็นหลักฐานแห่งสัญญาการกู้ยืมเงิน