การกระทำที่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
1. เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น แฮ็กเฟส เจาะรหัสผ่าน ใช้รหัสผ่านผู้อื่นเข้าสู่คอมผู้อื่น เป็นต้น
2. เปิดเผยวิธีแฮ็กหรือรหัสผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่น3. เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกันเฉพาะโดยมิชอบ เช่น แอบเปิดคอมผู้อื่นแล้วเข้าไปเปิดดูข้อมูลในเครื่องคอมผู้อื่นโดยมิชอบ4. ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับช้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่นแอบล็อคอินเข้าไลน์แฟนผ่านเครื่องคอมเพื่อดูว่าแอบสนทนากับกิ๊กที่ไหนหรือไม่ (เพราะอาจเข้าผ่านมือถือไม่ได้) เป็นต้น5. ทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เช่น แอบใช้รหัสผ่านเข้าไปในคอมแล้วลบไฟล์ข้อมูลผู้อื่น6. กระทำการใดๆทางอิเล็กทรอนิกสเพื่อรบกวน หรือขัดขวางการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่นปล่อยไวรัสโจมตีเว็บ เป็นต้น7. ส่งอีเมลที่มีข้อความหรือรูปภาพที่ไม่ระบุที่มาไปรบกวนผู้อื่น เช่น การส่งอีเมลซ้ำๆ เพื่อรบกวนการทำงานของระบบคอมผู้อื่น8. การส่งสแปมเมลหรืออีเมลขยะทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญโดยไม่เปิดโอกาสให้บอกเลิกหรือปฏิเสธการรับ เช่นการส่งอีเมลมาร์เก็ตติ้งซ้ำๆ จำนวนมาก โดยไม่มีปุ่มให้ผู้รับกดปฏิเสธหรือยกเลิก9. จำหน่ายโปรแกรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการนำไปกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้น10. ทุจริตหรือหลอกลวงโดยนำข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบคอมพิวเตอร์โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือความมั่นคง หรือเป็นการก่อการร้ายหรือนำเข้าข้อมูลลามก รวมถึงการแชร์หรือส่งต่อข้อมูลดังกล่าวและผู้ให้บริการที่รู้เห็นหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดดังกล่าวก็มีความผิด11. นำภาพตัดต่อ ดัดแปลงภาพของผู้อื่นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย12. สร้างหรือดัดแปลงภาพผู้ตายแล้วนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันน่าจะทำให้ครอบครัวผู้ตายเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูมิ่นเกลียดชังหรือบังเกิดความอับอาย13. การนำเข้าข้อมูลอันเป็นการติชมโดยสุจริตอันเป็นวิสัยที่ประชาชนพึงกระทำไม่มีความผิด...........อ้างอิง : พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐