แนะวิธีรับมือขบวนการล่อซื้อเพื่อเรียกค่าปรับ

Last updated: 17 มิ.ย. 2564  |  1632 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แนะวิธีรับมือขบวนการล่อซื้อเพื่อเรียกค่าปรับ

#แนวทางรับมือ
#ล่อซื้อตบค่าปรับ
#ล่อซื้อน้ำส้มสั่งปรับนับหมื่น


กรณีล่าสุดที่มีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
โดยผู้ที่ออกมาโพสต์รายนี้เขาได้เล่าว่า
มีคนมาสั่งให้ทำน้ำส้มห้าร้อยขวด
แต่ลงทุนไปแล้วก็มีคนเข้ามาถามหาใบอนุญาต
ด้วยความที่ไม่รู้กฎหมายและเกรงว่าจะเป็นปัญหาไปยืดยาวเลยจบที่ยอมเสียค่าปรับไปหมื่นสองบาท และคนสั่งก็บล็อกเพจหายจ้อย
ซึ่งเรื่องราวคล้ายกับเมื่อหลายปีก่อนที่ จนท.ได้ทำการล่อสั่งให้เด็กทำกระทงลายการ์ตูนลิขสิทธิ์ และบุกจับรีดค่าปรับ
สุดท้ายสั่งยกเพราะมิใช่กรณีที่เด็กมีเจตนากระทำความผิด แต่เป็นที่เจ้าหน้าที่ล่อให้กระทำความผิด
หากใครเจอเหตุการณ์แบบนี้ ไม่ต้องไปกลัวว่าเราไม่รู้กฎหมาย ทนายขอแนะนำแนวทางเบื้องต้นเพื่อปกป้องตนเองจากการกระทำอันมิชอบหรือการหลอกลวง


  • ตั้งสติ ขอดูบัตรเจ้าหน้าที่ พร้อมบัตร ปชช (ถ่ายรูปเก็บไว้ด้วย) ว่ามาจากหน่วยงานไหน จากนั้นโทรตรวจสอบกับหน่วยงาน เพราะมีไม่น้อยที่ปลอมบัตรมาแอบอ้าง และอย่าโทรไปตามหมายลขบนบัตร เพราะนั่นอาจจะเป็นหมายเลขของพวกคนร้ายเอง



  • การจ่ายค่าปรับต้องจ่าย ณ ที่ทำการหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สถานีตำรวจ กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร กรมควบคุมโรคหรือศาล (แล้วแต่กรณี) เป็นต้น



  • ไม่ว่าจะอย่างไร ห้ามให้เงินไปเด็ดขาด หากดูท่าจะยืดเยื้อให้ไปคุยที่สถานีตำรวจ และหากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ขอพบผู้กกำกับ สน.เลย เป็นสิทธิของประชาชน



  • ถ้ายังไม่แน่ใจหรือเกรงจะไม่ได้รับความเป็นธรรม ปรึกษาทนายที่ท่านไว้ใจ



  • ไม่ต้องกลัวการขึ้นศาล ถ้าจะต้องเสียค่าปรับ ให้ศาลพิจารณาดีกว่าว่าท่านต้องเสียค่าปรับเท่าไร เพราะคดีลักษณะนี้เคยมีมาแล้ว (อ่านข้อมูลด้านล่างโพสต์)



แชร์ได้ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์
#ทนายดิษญา
เพจ ปรึกษากฎหมายและคดีความ (ฟรี) โดยทนายตัวจริง
www.chandislaw.com
.................................................................
..........................
ความแตกต่างระหว่าง"การล่อซื้อ"
"การล่อให้กระทำความผิด"
#การล่อซื้อ คือ วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด เช่น ตำรวจล่อซื้อยาเสพติดจากจำเลยและจำเลยก็ขายให้ การกระทำลักษณะนี้เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อเอาผิดกับจำเลยที่มิได้มีลักษณะผิดทำนองคลองธรรมแต่อย่างใด เพราะหากจำเลยมิได้มียาเสพติดไว้ครอบครองไว้จำหน่าย เมื่อถูกล่อซื้อก็ย่อมไม่มียาเสพติดจำหน่าย ความผิดย่อมไม่เกิด จึงไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
(อ้าง: คำพิพากษาศาลฎีกา ๕๙/๒๕๕๒)
#การล่อให้กระทำความผิด คือ การล่อให้บุคคลที่ไม่ได้มีเจตนาในการกระทำความผิดให้ลงมือกระทำความผิด เช่น การที่บริษัท ม. (ผู้เสียหาย) ใช้คนไปล่อซื้อคอมพิวเตอร์จากจำเลยและตกลงกับจำเลยว่าจำเลยต้องแถมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยประกอบคอมพิวเตอร์และทำซ้ำโปรแกรมของผู้เสียหายลงในคอมพิวเตอร์ การกระทำของจำเลยเกิดขึ้นจากการล่อซื้อ โดยจำเลยมิได้มีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว เท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดี
(อ่าง: คำพิพากษาศาลฎีกา ๔๓๐๑/๒๕๔๓)
....................

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้